การวาดเส้น
( Drawing )
โดย ศุภชัย สุกขีโชติ
มนุษย์รู้จักการวาดเส้น มาตั้งแต่ มีมนุษย์คนแรกเกิดขึ้นบนโลกนี้แล้ว ด้วยเหตุผลของการบันทึกเรื่องราว รูปทรง ความคิด ที่มนุษย์ต้องการสื่อสารระหว่างกัน ด้วยการเขียนด้วยยางไม้ในผนังถ้ำ หรือการขุดขีด ร่องรอย บนหิน บนทราย บนดิน เพื่อจะบันทึก และสื่อสาร แสดงอารมณ์ความรู้สึก ความเชื่อ ของมนุษย์
Michelangelo
ความสำคัญของการวาดเส้น
การวาดเส้นเป็นพื้นฐานเบื้องต้น ของการแสดงออกทางศิลปะ ที่สามารถนำพา อารมณ์ ความรู้สึก จิตใต้สำนึกของศิลปิน ให้หลั่งไหลออกมาได้อย่างดี ลดปํญหาอุปสักด้านเทคนิค ของการแสดงต่างๆลง การวาดเส้นเป็นการกำหนดโครงสร้าง ความคิดจินตนาการ สร้างภาพ ประมวลความคิด ได้รวดเร็ว ทันที และคล่องตัว การวาดเส้นเป็นการกำหนดขอบเขตของจินตนาการ และการบันทึก เพื่อนำไปพัฒนา เป็นผลงานศิลปะ ที่สมบูรณ์ยิ่งขึ้น
Ingres
Michelangelo
วาดเส้นเพื่อการบันทึก
การใช้การวาดเส้นเพื่อการบันทึก เกิดขึ้นมาพร้อมกับเผ่าพันธุ์มนุษย์ เพื่อบันทึกภาพเหตุการณ์ต่างๆ เพื่อการสื่อสาร เพื่อการบูชา ความเคารพนับถือสืบทอด อารยธรรม ด้วยการสร้างร่องรอยบนผนังถ้ำ บนดิน บนทราย ในปัจจุบัน ก็มีหลากหลายมากมาย วัสดุที่ใช้ในการบันทึก คือ ดินสอ แท่งถ่าน พู่กันจุ่มหมึก ปากกา วัสดุที่สามารถจุ่มหมึก หรือสี และคอมพิวเตอร์ การบันทึกภาพและเหตุการณ์ตามรูปทรงที่ปรากฏ และนำไปใช้ในกิจกรรมต่างๆ ตามความเป็นจริง เขียนรายละเอียดตามที่ตาเห็น เมื่อเปรียบเทียบการวาดเส้น กับกล้องถ่ายภาพ ก็สามารถเก็บรายละเอียด ตามที่ตาเห็นได้มาก แต่กล้องถ่ายภาพไม่สามารถเก็บ หรือถ่ายทอดอารมณ์ ความรู้สึกของศิลปินผู้วาดนั้นๆ ได้ การบันทึกด้วยการวาดเส้น เป็นการบันทึก รายละเอียด อารมณ์ความรู้สึกลงในจิตวิญญาณ ของผู้บันทึกได้อย่างลึกซึ้ง จดจำ สังเกต ทุกรายละเอียดฝังลึก ลงในจิตใจ และสมอง ที่เหนือกว่าการถ่ายภาพ
Leonardo Davininci
วาดเส้นกับจินตนาการ การถ่ายทอดจินตนาการที่รวดเร็ว ตรง ฉับไว ปราศจากการขัดขวาง จากเทคนิควิธีการที่ยุ่งยาก ซับซ้อน ทำให้ศิลปิน สามารถถ่ายทอดความคิด ความรู้สึก ความสะเทือนอารมณ์ของศิลปิน การวาดเส้นเพื่อการกำหนดโครงสร้าง โครงร่าง ภาพร่าง ของความคิด และจินตนาการ เพื่อนำไปพัฒนาให้เกิดผลงานศิลปะที่สมบูรณ์ยิ่งขึ้น ในขณะที่ผลงาน วาดเส้นก็คงมีค่า ทางศิลปะด้วยตัวผลงานวาดเส้นเอง ก่อนที่ภาพ เกอร์นิก่า (Guernica) จะเป็นผลงานขนาดใหญ่ ที่ยิ่งใหญ่ของ ปีกาสโซ่ก็เป็นภาพร่างรูปแล้วรูปเล่าเป็นจำนวนมาก เพื่อพัฒนาจินตนาการให้ชัดเจนขึ้น ก่อนที่แจ็คสัน พอลลัค จะสร้างผลงานจิตรกรรมแบบนามธรรม ด้วยการสลัดสี ราดสีลงไปบนแผ่นพื้นขนาดใหญ่ ซึ่งดูเหมือนไม่มีการกำหนดโครงร่างอะไรเลย เขาผ่านการวาดเส้น ทั้งรูปธรรม และนามธรรม เป็นจำนวนมาก นับไม่ถ้วน
ภาพร่าง Guernica ของ Picasso
ภาพร่างผลงานของ Jackson Pollock
ปิเอต์ มงเดรียง “ต้นไม้ 2” 1912 เกรยองสีดำบนกระดาษ 57x85ซ.ม.
ภาพผลงานของ ศุภชัย สุกขีโชติ
ภาพผลงานของ สุรเดช แก้วท่าไม้
ความเหมือนจริงในงานวาดเส้น
ในอดีตการบันทึกภาพ ด้วยการเขียนภาพเหตุการณ์ต่างๆ ในลักษณะบันทึกความเหมือน ด้วยรูปร่างรอบนอก ก็นับเป็นสิ่งสำคัญ สำหรับการบันทึกภาพ นับตั้งแต่โลกมีกล้องถ่ายภาพใช้ การบันทึกภาพต่างๆ ก็จบลงด้วยกล้องถ่ายภาพทั้งสิ้น เพราะสามารถเก็บรายละเอียดทุกอย่างได้ถูกต้องเป็นจริง การวาดเส้นเป็นการบันทึกภาพที่มากกว่าสายตาเห็น ตรงหน้า ศิลปินจะมองลึกเข้าไปในสิ่งที่เห็นด้วยจิต ด้วยความรู้สึก ด้วยการแสดงออกของศิลปิน ที่มีต่อสิ่งเร้าตรงหน้า ศิลปินจะจัดระเบียบ และสร้างสิ่งนั้นๆขึ้นมาใหม่ด้วยความรู้สึก ความเข้าใจของศิลปินเอง ความกลัวเรื่องความเหมือน ไม่เหมือน ในรูปนอก ของสิ่งที่ศิลปินต้องการวาด จะเป็นอุปสักสำคัญ ของการแสดงออกทางศิลปะ
ภาพผลงานของ สุดใจ ไชยพันธ์
ภาพผลงานของ ธนากรณ์ สุพรมอินทร
ภาพผลงานของ พัชรพงษ์ มีศิลป์
การฝึกวาดเส้น
การฝึกวาดเส้นที่ถูก ต้อง จะเป็นพื้นฐานสำคัญในการศึกษาศิลปะด้านทัศนศิลป์ทำให้มีพื้นฐานที่มั่นคงถูก ต้อง เนื่องจากจินตนาการและการแสดงออกทางศิลปะ จะอยู่บนพื้นฐาน การกำหนดโครงสร้าง รูปแบบ และความคิด ทักษะ ความชำนาญ ในการวาดเส้นจะเป็นเครื่องกำหนดทิศทางของการพัฒนาให้ผู้ฝึกฝนในการวาดเส้นจน เกิดทักษะ มีความชำนาญ ที่จะนำมาประมวลความคิด อารมณ์ ความรู้สึก ของศิลปิน ไปหาจุดมุ่งหมายปลายทางได้สำเร็จ ศิลปินทุกแขนงต้องใช้พื้นฐานการวาดเส้น กำหนดโครงร่างของงานก่อนทั้งสิ้น
ภาพผลงานของ ปรีชา เถาทอง
ภาพผลงานของ ธรรมศักดิ์ สิทธิพงศ์ศุทธิ์
วาดเส้นกับจิตรกรรม
การวาดเส้นกับการทำงานจิตรกรรมมีความสัมพันธ์ สอดคล้องกัน เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันเสมอ การป้าย การเขียน การระบาย การใช้เส้นเป็นโครงร่าง ของภาพ และสอดแทรกสีลงในช่องว่าง ทิศทางของการป้าย การเขียนสี ร่องรอยของฝีแปรง การใช้เส้นอ่อนแก่หนักเบา การไล่น้ำหนักอ่อนแก่ ของสีเพียงสีเดียว โดยอาจจะสรุปได้ว่า วาดเส้นกับจิตรกรรม อยู่บนพื้นฐานกรรมวิธีเดียวกัน
ทัศนียภาพวิทยาในการวาดเส้น ความรู้เกี่ยวกับ ทัศนียภาพวิทยา จะช่วยให้การเขียนภาพทิวทัศน์ถูกต้อง มีมิติ ระยะของภาพ เป็นไปตามธรรมชาติ ที่มนุษย์มองเห็นสามารถกำหนดระยะ ใกล้ กลาง ไกล ในภาพได้ชัดเจน ในการวาดเส้น อาจแบ่งได้ 3 แบบคือ
ทัศนียภาพวิทยาแบบจุดเดียว
ทัศนียภาพวิทยาแบบสองจุด
- ทัศนียภาพของรูปทรง
ในธรรมชาติ เมื่อรูปทรงมีขนาดเท่ากันแต่ตั้งอยู่ในระยะห่างออกไปจากจุดมอง รูปทรงนั้น จะมีขนาดเล็กลงตามลำดับ จะสังเกตุได้จาก เสาไฟฟ้าริมถนน ในระยะใกล้จะมีความสูงกว่าเสาไฟฟ้าต้นที่อยู่ไกลออกไป ตามลำดับ
รูปทรงระยะใกล้และไกล
น้ำหนักอ่อนแก่ของรูปทรงระยะใกล้และไกล
- ทัศนียภาพของเส้นและน้ำหนัก
เส้นและน้ำหนักมีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน เนื่องจากการใช้เส้นหลายๆเส้นทำให้เกิดเป็นน้ำหนักขึ้นในภาพได้ เส้นและน้ำหนักเข้ม จะให้ความรู้สึก ใกล้ ชัดเจน โดดเด่นในขณะที่เส้นและน้ำหนักอ่อนลงก็จะให้ความรู้สึกไกลออกไป จนสุดขอบฟ้า การจัดระเบียบของระยะในภาพ ก็ขึ้นอยู่กับการสังเกตุ น้ำหนักอ่อนแก่ ที่เกิดขึ้นในทิวทัศน์ ธรรมชาติ
________________________________________________________________________________________________________
หนังสือประกอบการเขียน
ชลูด นิ่มเสมอ งานวาดเส้นร่วมสมัย .
มหาวิทยาลัยศิลปากร : หอศิลปมหาวิทยาลัยศิลปากร,2002
มหาวิทยาลัยศิลปากร : หอศิลปมหาวิทยาลัยศิลปากร,2002
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น